ในแต่ละวันมีขยะเกิดขึ้นจำนวนมาก และยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องยิ่งด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้คนทำงานที่บ้าน สั่งอาหารออนไลน์ ส่งผลให้มีปริมาณขยะจากบรรจุภัณฑ์อาหารต่างๆ โดยเฉพาะขยะประเภทพลาสติกที่มีเพิ่มขึ้นจากขยะทั่วไปที่เก็บได้ต่อวัน และการกำจัดขยะนั้นจะเป็นวิธีการฝังกลบ ขยะพลาสติกจะใช้เวลานานในการย่อยสลาย หากมีการตกค้างอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์ในทะเล หรือเกิดความสกปรกและเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของพาหะนำโรคได้ แล้วจะดีแค่ไหนหากเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นน้ำมันได้
.
‘พลังงานทดแทนจากขยะ’ ด้วยการนำขยะพลาสติก อย่างเช่น ขยะพลาสติกที่สามารถนำกลับมาสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ เช่น ขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดน้ำมันพืช หรือประเภทPolyethylene terephthalate (PET) และยางรถยนต์เหลือใช้ มาผ่านกระบวนการเปลี่ยนพลาสติกให้กลายเป็นน้ำมัน โดยใช้ระบบกลั่นน้ำมันแบบสุญญากาศ ไพโรไลซิส (Pyrolysis) เผาผลาญแบบสุญญากาศในอุณหภูมิ 300 - 500 องศาเซลเซียส เป็นการเผาโดยให้ความร้อนกับขยะในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อเปลี่ยนสถานะพลาสติกให้ระเหิดเป็นไอน้ำมันที่มีคุณสมบัติคล้ายน้ำมันหล่อลื่นในโรงงานอุตสาหกรรมและก๊าซสังเคราะห์ และต่อจากนั้น จะต้องนำเข้าจะสู่โรงกลั่นน้ำมัน โดยกรองน้ำมันที่ได้จากขั้นตอนแรก เพื่อแยกประเภทเชื้อเพลิงเป็นน้ำมันดีเซลที่นำมาใช้สำหรับเครื่องยนต์
.
กระบวนการแปรรูปดังกล่าวอาจจะเข้ามาช่วยลดปัญหาการกำจัดขยะพลาสติกด้วยการใช้แล้ว และไม่ได้นำไปใช้ซ้ำ เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และยังสามารถนำแปรรูปเป็นพลังงานได้อีก ดังนั้น อย่าลืมแยกขยะก่อนทิ้งก็จะถือเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมนะครับ
.
ที่มา : คู่มืออุดมศึกษาขยะ = พลังงานทดแทน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
https://bit.ly/3jByatS
ขอเชิญผู้รับบริการหรือติดต่อสำนักงานพลังงานจังหวัดลำปาง ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ” EIT 2024 ”
การยื่นลงทะเบียนผู้ดูแลระบบ (Admin) ของหน่วยงาน เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
จังหวัดลำปางมีความประสงค์เปิดให้หน่วยงานที่มีคุณสมบัติ สามารถยื่นข้อเสนอโครงการ ภายใต้กลุ่มงานส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนเศรษฐกิจฐานราก ของจังหวัดลำปาง โดยสามารถยื่นข้อเสนอโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2565 เวลา 16.30 น. ณ สำนักงานพลังงานจังหวัดลำปาง